วันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2563

ข้อมูลการแถลงข่าวศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19

ข้อมูลการแถลงข่าวศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19
ประจำวันที่ 5 เมษายน 2563
- นายกฯ ขอบคุณคนไทย 158 คนที่เดินทางกลับเข้าประเทศ ที่ให้ความร่วมมือกับภาครัฐเข้ารายงานตัวและกักตัว 14 วัน
- คนไทย 158 คนที่เดินทางกลับเข้าประเทศ อยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล 93 ราย สถานที่กักตัว คือ โรงแรม 2 แห่งในกรุงเทพฯ และพื้นที่ใกล้เคียง ขณะที่ 65 ราย อยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัด 27 จังหวัด สถานที่กักตัว คือ โรงพยาบาลใกล้ภูมิลำเนา โรงแรม รีสอร์ท และสถานที่ราชการที่เหมาะสม โดยใน 14 วันนี้ทุกคนจะได้รับการดูแลเป็นอย่างดี
- สถานการณ์การประกาศเคอร์ฟิววันที่สอง 4 เม.ย. 63 มีการตั้งจุดตรวจ 634 จุด รถผ่าน 7,997 คัน ประชาชน 11,610 คน พบการกระทำผิดมากที่สุด คือ การฝ่าฝืนโดยไม่มีเหตุผลในการเดินทาง และการรวมกลุ่มที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อ เช่น ดื่มสุรา เสพยาเสพติด
- นายกฯ สั่งการให้บูรณาการการทำงานระหว่างภาครัฐในการรับคนไทยที่เดินทางกลับประเทศ ทำให้ใช้เวลาในการดำเนินการลดลง ดูได้จากการรับคนไทยที่เดินทางเข้ามาจากมาเลเซีย 51 คน และกาตาร์ 47 คน ใช้เวลาในการขนสัมภาระและส่งตัวไปยังที่พัก เฉลี่ยไม่เกิน 3 ชั่วโมง
- สถานการณ์ COVID-19 ของไทย วันที่ 5 เม.ย. 63 ผู้ป่วยสะสม 2,169 ราย ผู้ป่วยรายใหม่ 102 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 3 ราย รวมเสียชีวิตทั้งหมด 23 ราย หายป่วยแล้ว 674 ราย
- นอกจากการรายงานการพบผู้ป่วยใหม่ อยากขอให้มีการรายงานจำนวนผู้หายป่วยเข้ามาด้วย คาดว่าตัวเลขจำนวนผู้หายป่วยจะมีมากกว่านี้
- กรุงเทพฯ เป็นจังหวัดที่มีผู้ป่วยรายใหม่สูงสุด และยอดผู้ป่วยสะสมเกิน 1,000 รายแล้ว ต้องช่วยกันให้มากขึ้นเพื่อลดจำนวนผู้ป่วย
- จำนวนผู้ป่วยสะสมในต่างจังหวัดยังเพิ่มขึ้น ไม่ควรให้จำนวนเพิ่มไปมากกว่านี้
- ผู้ติดเชื้อรายใหม่มาจากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยยืนยันรายก่อนหน้านี้มากที่สุด ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ ภูเก็ต และสมุทรปราการ รองลงมา คือ ผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง เช่น ทำงานในสถานที่แออัดและสัมผัสชาวต่างชาติ ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต และอันดับสาม คือ คนไทยที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ ส่วนใหญ่มาจากประเทศอังกฤษ
- วิเคราะห์ข้อมูลจากวันที่ 4 ม.ค. – 4 เม.ย. 63
1. ผู้เสียชีวิต 20 ราย อยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ มากที่สุด เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง ค่าอายุเฉลี่ย 58.5 ปี อัตราการป่วยตาย 0.97% พบมีโรคประจำตัวร่วมมากที่สุด คือ เบาหวาน รองลงมาคือ ความดันโลหิตสูง ปัจจัยเสี่ยงติดเชื้อมากที่สุดมาจากสนามมวย การเดินทางต่างประเทศ และอาชีพเสี่ยง เช่น ขับรถสาธารณะ ร้านอาหาร พนักงานขายของ
2. ผู้ป่วย 2,067 ราย เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง กลุ่มอายุ 50-69 ปี เสียชีวิตมากที่สุด 9 ราย พบปัจจัยเสี่ยงมากที่สุด คือ เดินทางต่างประเทศและพิธีทางศาสนา รองลงมา คือ กลุ่มอายุมากกว่า 70 ปี เสียชีวิตจำนวน 8 ราย พบปัจจัยเสี่ยงมากที่สุด คือ สนามมวย
3. ขอความร่วมมือควรเว้นระยะห่างทางสังคมกับผู้สูงอายุในบ้าน
- เหตุผลของการกักตัวผู้กลับมาจากต่างประเทศ หากมีผู้ติดเชื้อเพียง 1-2 คน และไม่มีการควบคุมที่ดี อาจเกิดการแพร่กระจายเชื้อจำนวนมาก (Super Spreader) ได้
- ผู้ป่วยชาวไทยที่กลับจากต่างประเทศจำนวน 249 คน มาจากยุโรปมากที่สุด ส่วนใหญ่ คือ ผู้ที่ไปทำงาน 39% รองลงมา คือ พิธีทางศาสนา 31% มากกว่า 30 ราย อยู่ในกรุงเทพฯ และ 3 จังหวัดชายแดนใต้
- การจำแนกผู้ป่วยตามที่มาขอการติดเชื้อ พบว่า การติดเชื้อภายในประเทศ 7 วันล่าสุด กรุงเทพฯ มีแนวโน้มลดลง ต่างจังหวัดคงที่ ขณะที่การติดเชื้อจากต่างประเทศ 7 วันล่าสุด พบว่าเป็นคนไทย 10- 25 รายต่อวัน ส่วนใหญ่มาจากยุโรป ปากีสถาน และอินโดนีเซีย ส่วนชาวต่างชาติไม่เกิน 10 รายต่อวัน ส่วนใหญ่มาจากอังกฤษ
- การแจ้งตัวเลขให้ทราบมีวัตถุประสงค์เพื่อที่แต่ละพื้นที่จะได้หามาตรการดำเนินการป้องกันที่เหมาะสม
- เราควรลดความตระหนกและเพิ่มความตระหนัก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น